วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

น้ำหอมสู่ธุรกิจเงินล้าน

น้ำหอมสู่ธุรกิจเงินล้าน

ก่อนหน้านี้ เพอฟูมเมอร์ธรรมดา กับเพอร์ฟูมเมอร์ของยี่ห้อผลิตภัณฑ์ชั้นสูงนั้นมีฐานะทัดเทียมกัน ทำงานกันอย่างมีความสุขหากการเปลี่ยแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับผันแปรทุกอย่าง ร้านน้ำหอมรายย่อย รายเล็ก มิอาจเที่ยบเทียมบริษัทน้ำหอมดังๆได้

และหลายบริษัทเล็กๆที่ถูกเบียดจนตกขอบตกต้องปิดตัวเองไป การผลิตน้ำหอมเปลี่ยนแนวทางจากการเป็นสินค้าพิเศษเฉพาะกลุ่มไปสู่การผลิตน้ำหอมแบบเอาใจตลาด จากงานศิลปะกลายเป็นงานมวลชน ดูเหมือนว่าถ้าอุตสาหกรรมน้ำหอมต้องการอยู่รอด ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการมีการสนับสนุนด้านการเงิน พูดง่ายๆคือเงินต้องหนา ผิดกับแต่ก่อน ที่การอยู่รอดของน้ำหอมจะขึ้นอยู่กับเพอร์ฟูมเมอร์

ตอนเอลซ่า เชียปาเรลลิ (Elsa Schiaparelli) ผู้ถูก โกโก้ ชาแนล คู่แข่งเรียกด้วยสมญาว่า "แม่อิตาเลี่ยนคนนั้น" ได้ออกน้ำหอมกลิ่นต่างๆของเธอออกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึง Shocking น้ำหอมกลิ่นสุดเซ็กซี่ในช่วงต้นทศวรร 1920


น้ำหอมสู่ธุรกิจเงินล้าน
 เธอได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่แห่งวงการน้ำหอมอีกครา เพราะนอกจากเธอจะทำการตลาดให้น้ำหอมตัวเอง โดยอาศัยภาพเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ เธอก็ยังจ้าง ทีมงาน เพื่อผลิตน้ำหอมเป็นการเอิกเกริก แทนที่จะใช้เพอร์ฟูมเมอร์เพียงคนเดียวอย่างที่ยี่ห้ออื่นปฎิบัติกันมา

ทีมงานหรือ compound house ที่ถูกว่าจ้างมาให้ผลิตน้ำหอมยุคนั้น ถูกมองว่าน่าจะจ้างมาผลิตน้ำผลไม้เสียมากกว่า เพราะทีมนี้เป็นบริษัทที่จะดูแลตั้งแต่การคิดค้นสูตรส่วนผสม มีห้องเคมี มีหน่วยติดต่อวัตถุดิบ และมีฝ่ายดูแลเรื่องการค้าส่งน้ำหอม ที่สำคัญคือ เชียปาเรลลิเป็นห้องเสื้อชั้นสูงแห่งแรกที่จ้างทีมงานแบบนี้มาผลิตน้ำหอม

อันนับว่าเป็นการเปลี่ยนผันขนบแห่งอุตสาหกรรมน้ำหอมโดยสิ้นเชิง ไม่มีการผลิตน้ำหอมโดยอาศัย เพอร์ฟูมเมอร์คนเดียวประกอบการแบบ exclusive ดูเล็กๆ เป็นส่วนตัวอีกต่อไป การทำธุรกิจน้ำหอมเปลี่ยนจากกิจการซึ่งดำเนินงานโดย กลุ่มเพอร์ฟูมเมอร์หรือมือสมัครเล่นไปเป็นอุตสหกรรมการค้าขนาดใหญ่หลังสงคราม

ในวันนี้ น้ำหอมชื่อดัง ขายดีทั้งหลายเป็นผลงานผลิตจากบริษัทประเภท compound house อย่างเช่น Quest, IFF Firmenich และ Givaudan-Roure เป็นต้น คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อบริษัทพวกนี้ แต่เหล่าบริษัทเหล่านี้หละคือ ขุมกำลังหลังบัลลังก์อันหรูหรา บรรดาเพอฟูมเมอร์ทั้งหลาย บัดนี้ต่างทำงานให้กับอาณาจักรเรือนล้านเหล่านี้ โดยจะแบ่งเวลาเพื่อคิดค้นน้ำหอมใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าส่วนบุคคลเป็นรายๆ และทำงานในห้องแล็ปของยักษ์ใหญ่ ผู้ผลิตเพื่อคิดค้นส่วนผสมใหม่ๆ

แต่บริษัทอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ได้ผลิตน้ำหอมป้อนเฉพาะบริษัทเครื่องสำอาง เจ้าของน้ำหอมยี่ห้อดีไซเนอร์ รายได้ก้อนโตของบริษัทนั้นมาจากการปรุงกลิ่น ปรุงรสสำหรับอาหาร รวมไปถึงหัวน้ำหอม เพื่อใช้กับทุกอย่าง ตั้งแต่สบู่ แป้งโรยตัว ไปจนถึงกระดาษชำระ อันที่จริง เพอฟูมเมอร์หนุ่มสาวรุ่นใหม่ทุกคนมักจะมาเริ่มงานกันที่นี้ เริ่มจากการสร้างสรรค์กลิ่นหอมสำหรับใช้กับข้าวของธรรมดา ของใช้ประจำวันในตรัวเรือนก่อนพัฒนาไปสู่การสรรค์สร้างกลิ่นหอมสำหรับน้ำหอมละเมียดละไมให้แก่ยี่ห้อดีไซเนอร์ดังๆทั้งหลาย

เพราะ compound house เหล่านี้เป็นองค์กรขนาดใหญ่จากการผลิตสินค้ามวลชน จึงมีเงินหนา และเงินเหล่านี้เองที่อำนวยให้มีการคิดค้นเพื่อวิทยาการทันสมัยล้ำยุคสำหรับการผลิตน้ำหอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น